กรณีที่ผู้พิพากษาสั่งลงโทษผู้ต้องหาถึงขั้นตัดสินประหารชีวิต กรณีนี้ผู้พิพากษาท่านไม่ได้ลงมือเอง ท่านจะผิดศีลข้อที่1 ด้วยหรือไม่ครับ
คำถาม: หลวงพ่อครับ…กรณีที่ผู้พิพากษาสั่งลงโทษผู้ต้องหาถึงขั้นตัดสินประหารชีวิต กรณีนี้ผู้พิพากษาท่านไม่ได้ลงมือเอง ท่านจะผิดศีลข้อที่1 ด้วยหรือไม่ครับ คำตอบ: คุณโยม…ในเรื่องของการลงโทษคนตามกฎหมาย นี่เป็นเรื่องของกฎหมายบ้านเมือง และในเรื่องของกฎหมายนี้ ต้องทำความเข้าใจอีกนิดหนึ่งด้วย กฎหมายยังมีกฎหมายแม่ กฎหมายลูก กฎหมายลูกก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายแม่ ถ้าลูกว่าผิด แต่แม่ว่าไม่ผิดก็ เป็นว่าไม่ผิด ก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายแม่ คุณโยม…แต่ว่ากฎหมายลูกกฎหมายแม่ มันเป็นเรื่องที่มนุษย์ตั้งกันขึ้นมา ส่วนว่าผิดศีลหรือไม่ผิดศีล นั่นมันกฎแห่งกรรม อย่ามาปนกันนะคุณโยม ถ้าปนกันเมื่อไหร่ พลาดเมื่อนั้น กฎหมาย มนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นมาตามวาระ ตามเทศะ บางประเภทด้วยกรณีตัดสินเรื่องเดียวกัน อาจจะเหมือนกัน ไม่เหมือนกัน แต่ว่าในเรื่องของ กฎแห่งกรรม แล้ว…ไม่ว่าเรื่องการตัดสินหรือการฆ่านั้นๆ จะเกิดตรงไหนในโลกก็ตาม คุณโยม…มันผิดทั้งนั้น เพราะว่ากฎแห่งกรรมนั้น เป็นกฎของจักรวาล มันไม่ใช่กฎของบ้านเมืองใดบ้านเมืองหนึ่ง ดวงอาทิตย์ที่ประเทศจีน ประเทศไทย ประเทศฝรั่ง เห็น มันดวงเดียวกัน ดวงอาทิตย์ที่คนต่างศาสนาเห็น มันดวงเดียวกัน เพราะฉะนั้นความรู้สึกนึกคิดหรือว่าความร้อนแรงมันก็ระดับเดียวกัน ไม่เปลี่ยน ขณะนี้ เมื่อเราพูดถึงกฎหมายบ้านเมืองแล้ว ดูเหมือนว่าผู้พิพากษาท่านไม่ผิด ท่านไม่ผิดโดยกฎหมาย เพราะกฎหมายอนุญาตท่าน แต่ถึงอย่างไรก็เข้าข่ายฆ่าสัตว์ตัดชีวิตตามกฎแห่งกรรม กฎเกณฑ์ในเรื่องของฆ่าสัตว์ตัดชีวิตในศีลข้อที่1 ว่าอย่างไร 1.สัตว์นั้นมีชีวิต 2.รู้ด้วยว่ามีชีวิต 3.มีจิตคิดจะฆ่า 4.ลงมือฆ่า 5.ได้ตายสมใจนึก เมื่อไหร่ก็ตาม เมื่อได้มีการสั่งฆ่ากันขึ้นแล้ว และได้ฆ่าเสร็จสรรพแล้ว ใครมีส่วนไหนใน 5ขั้นตอนนี้ ก็รับเอาไป…ชัดเจนดีนะ แต่ว่า มันก็มีข้อคิดกัน บางอย่างผ่อนหนักเป็นเบาได้…ผ่อนหนักเป็นเบาทำอย่างไร…อย่างกรณีที่กล่าวมาแล้วว่า …